ก่อสร้อย

สมุนไพรก่อสร้อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กำลังเสือโคร่ง (น่าน), ก่อสร้อย สนสร้อย ส้มพอหลวง (เลย), ก่อหัด (เพชรบูรณ์), เส่ปอบบล๊ะ เส่ปอบมละ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) เป็นต้น

เปลือกต้นใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (เปลือกต้น) เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร (เปลือกต้น) ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ (เปลือกต้น) ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บำรุงเส้นเอ็น (เปลือกต้น)

ต้นก่อสร้อย จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีความสูงได้ประมาณ 20 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาและมีลายเป็นทางสีดำ เปลือกนอกจะลอกออกเป็นแผ่นงอม้วน ลักษณะของลำต้นกิ่งมีช่องอากาศเป็นตุ่ม ๆ จำนวนมาก ตามยอดอ่อนจะมีขนปกคลุมเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศเย็น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย เนปาล ภูฏาน พม่า ลาว และเวียดนาม ในประเทศไทยพบขึ้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมักจะพบขึ้นในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800-900 เมตร ขึ้นไป เช่น บนดอยอินทนนท์ ดอยปุย ในจังหวัดเชียงใหม่, บริเวณภูกระดึง ภูหลวง จังหวัดเลย เป็นต้น

ใบก่อสร้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลมเป็นหางยาว โคนใบแหลม มนกลม หรือเว้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยซ้อนกัน 2 ถึง 3 ชั้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-11 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบด้านล่างมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ เส้นแขนงใบมีข้างละ 10-12 เส้น เส้นใบย่อยเป็นเส้นตรงและเส้นขนานกัน ซึ่งจะเห็นได้ชัดทั้งสองด้าน ส่วนก้านใบมีขน ยาวได้ประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *