ขมิ้นชัน

มีถิ่นกําเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งธรรมชาติในสภาพพืชป่า มีข้อสันนิษฐานว่า ขมิ้นชันเป็นพืชปลูกที่เกิดกระบวนการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติและมีโครโมโซม 3 ชุด ซึ่งเป็นหมัน มีการสืบทอดพันธุ์กันต่อมา โดยวิธีการคัดเลือกพันธุ์และปลูกขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ปัจจุบันมีเขตการกระจายพันธุ์ปลูกทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อน หรือร้อนชื้นทั่วโลก ได้แก่ กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว มาดากาสกา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย รวมถึงบางประเทศในเขตร้อนชื้นของทวีปแอฟริกา

  1. ช่วยเจริญอาหาร
  2. ยาบำรุงธาตุ
  3. ช่วยฟอกเลือด
  4. แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด
  5. ช่วยลดน้ำหนัก
  6. แก้ปวดประจำเดือน
  7. แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  8. อาการดีซ่าน
  9. แก้อาการวิงเวียน
  10. แก้หวัด
  11. แก้อาการชัก
  12. ช่วยลดไข้
  13. ขับปัสสาวะ
  14. รักษาอาการท้องมาน
  15. แก้ไข้ผอมแห้ง
  16. แก้เสมหะ
  17. แก้โลหิตเป็นพิษ
  18. แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา
  19. แก้ตกเลือด
  20. แก้อาการตาบวม
  21. แก้ปวดฟันเหงือกบวม
  22. มีฤทธิ์ระงับเชื้อ
  23. ช่วยต้านวัณโรค
  24. ป้องกันโรคหนองใน
  25. แก้ท้องเสีย
  26. แก้บิด
  27. แก้หิว
  28. รักษามะเร็งลาม
  29. ช่วยลดอาการฟกช้ำบวม ปวดไหล่และแขน บวมช้ำและปวดบวม
  30. แก้ปวดข้อ
  31. ใช้สมานแผลสดและแผลถลอก
  32. ใช้ผสมยานวดคลายเส้นแก้เคล็ดขัดยอก
  33. แก้น้ำกัดเท้า
  34. แก้ชันนะตุ
  35. แก้กลากเกลื้อน
  36. แก้โรคผิวหนังผื่นคัน
  37. ใช้สมานแผล
  38. รักษาฝี แผลพุพอง
  39. ลดอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  40. ใช้ห้ามเลือด
  41. รักษาผิว
  42. ช่วยบำรุงผิว 
  43. ช่วยลดหน้าท้องลายหลังคลอดบุตร
  44. ช่วยลดกลิ่นปาก

• มีการวิจัยฤทธิ์ของขมิ้นชันต่อการต้านไวรัส พบสารเคอร์คูมิน และเคอร์คูมินโบรอนคอมเพล็กซ์คลอไรด์ สามารถยับยั้งเอนไซม์เอช ไอ วี โปรทีเอส 1 และ 2 (HIV-1 protease,HIV-2 protease) และพบสารเคอร์คูมินอยด์สามารถยับยั้งเอนไซม์เอช ไอ วี อินทิเกรส 1 (HIV-1 integrase) เอนไซน์โทโพไอโซเมอเรส 1 และ 2 (topoisomerase I,II)

 • มีการวิจัยฤทธิ์ของขมิ้นชันกับหนูที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการให้หนูกินน้ำมันขมิ้นชัน 25% และ 5% พบว่า ขมิ้นชันสามารถยังยั้งการเกิดของเซลล์มะเร็งได้ ด้วยการลดจำนวนเซลล์ และขนาดของเซลล์มะเร็ง

• ไม่ควรรับประทานสารสกัดที่ได้จากเหง้าขมิ้นชันติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย งุ่นง่าน กระสับกระส่าย ถ่ายเป็นเลือด อาเจียน และสตรีที่มีครรภ์ในระยะแรกๆ ไม่ควรรับประทานเด็ดขาดเพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้
• การใช้ขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไป จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ
• คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยา
• ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการอุดตันของท่อน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี และห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
• ควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากเสริมฤทธิ์กัน อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า และเลือดไหลหยุดยากได้

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *