ต้นฝ้าย มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและเอเชียตอนใต้ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีขนละเอียดขึ้นหนาแน่น
สรรพคุณของฝ้าย
ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบฝ้าย ผสมกับใบมะม่วง ใบมะนาวป่า ใบขมิ้น ใบไพล และใบตะไคร้ นำมาต้มเคี่ยว ดื่มกินเป็นยารักษานิ่ว (ใบ) เมล็ดฝ้ายใช้ผสมกับแก่นข่อย แก่นฝาง หัวตะไคร้ เลือดแรด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการประจำเดือนผิดปกติ ข้นคล้ำ (เมล็ด) จากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ได้ระบุว่าฝ้ายชนิด Gossypium hirsutum L. ที่กล่าวถึงในบทความนี้ มีสรรพคุณใกล้เคียงกับฝ้ายขาว (Gossypium herbaceum L.) ซึ่งสามารถนำมาใช้แทนกันได้ โปรดอ่านสรรพคุณของฝ้ายขาวเพิ่มเติมในบทความ “ฝ้ายขาว” ที่ระบุไว้ใน
ลักษณะของต้นฝ้าย
ต้นฝ้าย มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและเอเชียตอนใต้ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีขนละเอียดขึ้นหนาแน่น
ประโยชน์ของฝ้าย
ปุยฝ้ายหรือเส้นใยจากเมล็ด สามารถใช้ทอเป็นผ้าฝ้าย เส้นด้าย สำลี ผสมในกระดาษ และกระดาษพิมพ์ ส่วนขนปุยสั้น ๆ ที่ติดอยู่ที่เมล็ดจะนำมาใช้ทำพรม โดยใช้พื้นรองพรมเป็นเส้นใยปอแก้ว (ฝ้าย 10 กิโลกรัม จะให้เส้นใยประมาณ 3.5 กิโลกรัม)[2] เมล็ดใช้สกัดเอาน้ำมันเรียกว่า “น้ำมันเมล็ดฝ้าย” (ฝ้าย 10 กิโลกรัม จะให้น้ำมันประมาณ 1 กิโลกรัม)