สมุนไพรพญาดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักบังใบ ผักไผ่น้ำ (ภาคเหนือ), เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง), หน่อกล่ะอึ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), มีส้อย ลำถ้อย (ลั้วะ), ปร้างเจงบั้ว (ปะหล่อง), โพ้งลิ่น (เมี่ยน) เป็นต้น
สรรพคุณของพญาดง
ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้รากพญาดง ผสมกับรากสากเหล็ก รากหนามแน่ และรากปัวชุนเย นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้องน้อย สำหรับกามโรค (ราก) ชาวเขาเผ่าอีก้อ มูเซอ จะใช้ ใบหรือทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ, ทั้งต้น ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปัสสาวะขัด (สำหรับสตรีที่ยังไม่หมดประจำเดือน ห้ามใช้ในขณะที่มีรอบเดือน) (ใบ) ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้นิ่ว (ทั้งต้น) ทั้งต้นนำมาทุบห่อผ้าหมดไฟ ใช้เป็นยาประคบแก้อาการปวดท้องไส้ติ่งที่มีอาการไม่มาก (ทั้งต้น) ใช้เป็นยาแก้โรคหนองใน โดยตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากหรือเหง้าพญาดง ผสมกับรากขี้ครอก โดยใช้อย่างละเท่ากัน นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มเคี่ยวให้ข้น ใช้ดื่มเป็นยาแก้โรคหนองใน ส่วนอีกตำรับจะใช้ใบหรือยอดพญาดงผสมกับรากส้มกุ้ง นำมาต้มกับน้ำดื่ม ส่วนชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้เหง้าพญาดง ผสมกับเหง้าเอื้องหมายนา และว่านกีบแรด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หนองใน (รากหรือเหง้า, ใบหรือยอด)[1] สำหรับสตรีที่มีอายุมากแล้วและต้องการให้ประจำเดือนหมด ให้ใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาทำให้หยุดมีประจำเดือน แต่ห้ามใช้กับสตรีที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์และสตรีมีครรภ์เด็ดขาด (ใบ) ใบหรือทั้งต้นใช้ตำพอกห้ามเลือด รักษาแผลสด แผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ใบ, ทั้งต้น) ใบหรือทั้งต้นนำมาตำหรือคั้นเอาน้ำทาหรือพอกแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หูด ฝี หนอง ฆ่าเชื้อโรค (ใบ, ทั้งต้น) ประโยชน์ของพญาดง
ลักษณะของพญาดง
นพญาดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นมีความสูงได้ถึง 4 เมตร
ประโยชน์ของพญาดง
ผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ชาวลั้วะจะใช้ยอดอ่อนนำมารับประทานโดยจิ้มกับเกลือ ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ยอดอ่อนนำไปย่างกับไฟรับประทานกับน้ำพริก ส่วนชาวปะหล่องจะนำใบมาสับให้ละเอียดใช้เป็นส่วนผสมในการทำลาบชาวเมี่ยนจะใช้ใบนำมาต้มกับน้ำแล้วนำน้ำที่ได้มาใช้เป็นส่วนผสมในการทำแป้งเหล้า