ต้นมะสัง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย[3] โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านขนานกับลำต้นหรือออกตั้งฉากกับลำต้น ต้นมีกิ่งก้านจำนวนมาก เปลือกต้นเป็นร่องเล็ก ๆ เปลือกแตกเป็นเกล็ดรูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร ต้นแก่เป็นสีเทาถึงดำ ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาว และแข็งตรง ยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ที่กิ่งอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ ชอบแสงแดดจัด และควรปลูกไว้กลางแจ้ง พบขึ้นได้ทางภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ โดยจะขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าโคก ทุ่งนา
สรรพคุณของมะสัง
ใบมีรสฝาดมัน สรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ใบ) รากและผลอ่อนเป็นยาแก้ไข้ ตำรายาไทยจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มหรือฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ผลอ่อน) ช่วยแก้ท้องเดิน (ใบ) ใบช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (ใบ แก่นมะสังใช้ร่วมกับแก่นมะขาม ใช้ต้มกับน้ำดื่มขณะอยู่ไฟ (แก่น) ใบใช้เป็นยาสมานแผล (ใบ)
ลักษณะของมะสัง
ต้นมะสัง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย[3] โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านขนานกับลำต้นหรือออกตั้งฉากกับลำต้น ต้นมีกิ่งก้านจำนวนมาก เปลือกต้นเป็นร่องเล็ก ๆ เปลือกแตกเป็นเกล็ดรูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร ต้นแก่เป็นสีเทาถึงดำ ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาว และแข็งตรง ยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ที่กิ่งอ่อนมีขนขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ ชอบแสงแดดจัด และควรปลูกไว้กลางแจ้ง พบขึ้นได้ทางภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ โดยจะขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าโคก ทุ่งนา
ประโยชน์ของมะสัง
ผลมะสังมีรสเปรี้ยว สามารถนำมาใช้แทนมะนาวได้ โดยใช้ปรุงน้ำพริก หรือใส่แกง นอกจากนี้ยังใช้กินและนำมาทำน้ำผลได้อีกด้วย ยอดอ่อนและใบอ่อนมะสังใช้กินเป็นผักสด หรือนำไปปิ้งไฟให้หอมก็ใช้รับประทานร่วมกับลาบ ก้อย ซุปหน่อไม้ ในปัจจุบันนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ทำเป็นไม้แคระประดับหรือไม้ดัด เนื่องจากมีความสวยงามจากเปลือกที่ขรุขระ มีรูปทรงของต้นที่สวยงาม ออกใบดกและมีขนาดเล็ก และง่ายต่อการดัดเพราะกิ่งก้านมีความเหนียว