มะเขือยาวอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินซี วิตามินพี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ซิงค์ สารไกลโคอัลคาลอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเทอร์ปีน เป็นต้น และยังมีเกลือแร่ต่าง ๆ สำหรับมะเขือยาวสีม่วงนั้นจะมีวิตามินพีมากเป็นพิเศษโดยทั่วไปในมะเขือยาวผิวสีม่วงจะมีวิตามินพีในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง มีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือโรคลักปิดลักเปิด ควรจะรับประทานมะเขือยาวเป็นประจำ เพราะจะทำให้อาการของโรคดังกล่าวทุเลาลงหรือหายได้ มะเขือยาว มีความสามารถในการดูดซับน้ำมัน จึงคาดว่าน่าจะช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้ ด้วยความจริงนี้เองหากจะรับประทานด้วยวิธีการทอดก็จะทำให้มะเขือยาวดูดซับน้ำมันเอาไว้ จึงควรใช้วิธีอบแทน
สรรพคุณของมะเขือยาว
มีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการดูดซึมของคอเลสเตอรอลผ่านหนังลำไส้ได้ มีส่วนช่วยรักษาหลอดเลือดโลหิตและหัวใจให้เป็นปกติ ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง แคลเซียมจากมะเขือยาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน มีส่วนช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมอง พัฒนาด้านความจำ ใช้เป็นยาแก้ปวด ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากินแก้อาการปวด ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาทำเป็นเม็ดยากิน ใช้แก้อาการปวดฟัน ฟันผุ ด้วยการใช้ดอกแห้งหรือสดนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียด นำมาทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็น
ลักษณะของมะเขือยาว
มะเขือยาวเป็นพืชล้มลุก ความสูงของต้นประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นแข็งแรง มีขนนุ่มปกคลุมทั่วใบ แผ่นใบเรียบ ขนด้านล่างจะหนากว่าด้านบน ขอบใบเว้าลึกเป็นช่วง ๆ และมีลักษณะงุ้มเข้าหากลางใบ แผ่นใบมีเส้นผ่าศูนย์กลางใบนูนสีม่วงมองเห็นอย่างเด่นชัด
ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
โรคหัวใจเป็นโรคอันตรายที่ร้ายแรงต่อชีวิตหากผู้ป่วยไม่ได้รักษาดูแลอาการอย่างเหมาะสม โดยมีปัจจัยหลายประการที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ เนื่องจากมะเขือยาวมีสารอาหารให้ประโยชน์สูงอย่างหลากหลาย จึงเชื่อว่ามะเขือยาวอาจช่วยลดระดับไขมันในเลือดซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคหัวใจได้ด้วย
แม้บางงานวิจัยที่ทดลองในสัตว์พบว่า มะเขือยาวอาจช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL Cholesterol) และสารไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ แต่การทดลองใช้ผงสกัดจากมะเขือยาวเพื่อลดระดับไขมันในเลือดของมนุษย์กลับไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันที่มีนัยสำคัญแต่อย่างใด จึงไม่อาจสรุปประสิทธิผลของมะเขือยาวต่อการลดระดับไขมันในเลือดได้ในขณะนี้ ควรค้นคว้าทดลองเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ชัดเจนต่อไปในอนาคต