ต้นยี่โถ มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น โปรตุเกส ไปถึงอินเดียและอิหร่าน (เปอร์เซีย) โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามีการแพร่เข้ามาในไทยโดยชาวจีน ในปลายรัชกาลที่ 2 หรือต้นรัชกาลที่ 3 ช่วงปี พ.ศ.2352 – 2364 โดยมีลักษณะเป็นไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกของลำต้นมีสีเทาเรียบ มียางสีขาวคล้ายน้ำนม
สรรพคุณของยี่โถ
ใช้เป็นยาบำรุงและรักษาโรคหัวใจ ปรับชีพจรให้เป็นปกติ แต่มีความเป็นพิษสูง ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง (ใบ) ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ผล) ดอกยี่โถ สรรพคุณช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ดอก) ช่วยแก้อาการอักเสบ (ดอก) รากและเปลือกยี่โถใช้เป็นยาทาภายนอก ช่วยรักษากลากเกลื้อน แผลพุพองได้ (เปลือก, ราก) ใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลงและยาเบื่อหนูได้ กิ่งยี่โถสามารถนำมาใช้ทำเป็นไม้ไล่หนูได้ ด้วยการนำไปวางไว้บริเวณที่หนูชอบเดินป้วนเปี้ยน แต่จะต้องไม่เป็นไม้แก่หรือไม่มีน้ำยางนะครับ ไม่งั้นจะใช้ไม่ได้ผล ในโบราณมีความเชื่อว่า บ้านไหนที่มีบุตรเป็นคนหัวดื้อ หัวซน ไม่ค่อยเชื่อฟัง พ่อแม่จะใช้กิ่งของยี่โถที่มีความเหนียวมาตีลูก เพราะเชื่อว่าจะทำให้บุตรเชื่อฟัง เลิกดื้อเลิกซน กลายเป็นเด็กดี เรียนหนังสือเก่ง (เป็นเพียงความเชื่อนะครับ) นิยมปลูกต้นยี่โถไว้เพื่อเป็นไม้ประดับสวน เพราะมีดอกงดงามคล้ายกุหลาย มีกลิ่นหอม และออกดอกตลอดปี
ลักษณะของยี่โถ
ต้นยี่โถ มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น โปรตุเกส ไปถึงอินเดียและอิหร่าน (เปอร์เซีย) โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามีการแพร่เข้ามาในไทยโดยชาวจีน ในปลายรัชกาลที่ 2 หรือต้นรัชกาลที่ 3 ช่วงปี พ.ศ.2352 – 2364 โดยมีลักษณะเป็นไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกของลำต้นมีสีเทาเรียบ มียางสีขาวคล้ายน้ำนม ใบยี่โถ เป็นใบเดี่ยว มีรูปร่างรี ปลายและโคนใบแหลมคล้ายหอก ขอบใบเรียบหนาแข็ง มีสีเขียวเข้ม ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.7 เซนติเมตร ดอกยี่โถ ดอกมีสีชมพู ขาว มีทั้งดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว โดยดอกที่มีชั้นเดียวจะมีกลีบดอก 5 กลีบ เวลาดอกบานจะมีกลิ่นหอม เมื่อดอกผสมกับเกสรและร่วงหลุดไปจะติดผลดอกละ 2 ฝัก ผลยี่โถ ผลเป็นรูปฝักยาว เมื่อแก่เปลือกแข็งจะแตกออก และมีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก จะมีขนคล้าย ๆ เส้นไหมติดอยู่ทำให้ลอยลมไปได้ไกล โดยต้นยี่โถนั้นสามารถออกดอกได้ทั้งปี และสามารถปลูกได้ทุกที่ ขึ้นได้ทุกสภาพดิน จะด้วยการเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง
ส่วนที่ใช้เป็นยา
- ผล ขับปัสสาวะ
- ดอก แก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ
- ใบ ใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจ (มีความเป็นพิษสูงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง)
- นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาฆ่าแมลง และยาเบื่อหนูได้