ต้นสบู่ดำ จัดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 2-7 เมตร เป็นต้นไม้ที่อายุยืนมากกว่า 20 ปี ลำต้นเกลี้ยงเกลา ใช้มือหักได้ง่าย เนื่องจากเนื้อไม้ไม่มีแก่น ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่งแต่จะไม่มีขน[2] โดยต้นสบู่ดำเป็นพืชที่ทนทานและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดี จึงเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน หรือในพื้นที่ที่มีความสูงจนถึง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล หรือในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ส่วนการปลูกโดยทั่วไปแล้วจะใช้กิ่งปักชำ มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งชาวโปรตุเกสได้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
สรรพคุณของสบู่ดำ
ยางจากก้านใบนำมาป้ายปากช่วยรักษาโรคปากนกกระจอก (ยางจากก้านใบ) น้ำต้มใบใช้กินเป็นยาฟอกเลือด ฟอกโลหิต (ใบ) ยางใช้เป็นสารต้านมะเร็งได้ (ยาง) น้ำคั้นจากใบใช้ทาบริเวณท้องเด็ก ช่วยแก้ธาตุพิการได้ (ใบ) ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ยางจากก้านใบ) กิ่งก้านสบู่ดำนำมาทุบแล้วใช้แปรงฟัน ช่วยแก้อาการเหงือกบวมอักเสบได้ (กิ่งก้าน) ใบใช้อมบ้วนปาก ช่วยทำให้เหงือกแข็งแรง (ใบ) ช่วยแก้อาการปากและลิ้นเปื่อยพุพอง (ใบ, เนื้อไม้, ยาง) ใบช่วยลดอาการไข้ (ใบ) ใบใช้ทำเป็นยาชงกินแก้อาการไอ (ใบ)
ลักษณะสบู่ดำ
ต้นสบู่ดำ จัดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 2-7 เมตร เป็นต้นไม้ที่อายุยืนมากกว่า 20 ปี ลำต้นเกลี้ยงเกลา ใช้มือหักได้ง่าย เนื่องจากเนื้อไม้ไม่มีแก่น ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่งแต่จะไม่มีขน โดยต้นสบู่ดำเป็นพืชที่ทนทานและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดี จึงเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน หรือในพื้นที่ที่มีความสูงจนถึง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล หรือในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ส่วนการปลูกโดยทั่วไปแล้วจะใช้กิ่งปักชำ มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งชาวโปรตุเกสได้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
ใบสบู่ดำ
ใบสบู่ดำ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ลักษณะของใบคล้ายกับใบละหุ่ง แต่ใบจะหยักตื้นกว่า ใบมีลักษณะค่อนข้างกลมหรือไข่ป้อม ๆ กว้างประมาณ 7-11 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีรอยหยัก 3-5 หยัก ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนเส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ 5-7 เส้น ตามเส้นใบจะมีขนอ่อนปกคลุมอยู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 6-18 เซนติเมตร