ในช่วงฤดูฝนอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน อย่างเช่น ขิง ข่า ตะไคร้ พริกไทย แมงลัก โหระพากะเพรา ใบมะกรูด ฯลฯ ฤทธิ์ร้อนของพืชสมุนไพรจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น โดยนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ผัดกะเพรา ไก่ผัดขิง แกงข่าไก่ แกงเลียง ฯลฯ
ดอกคำฝอย
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ลดอาการอักเสบ แก้แพ้ ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
จันทน์เทศ
แก่น แก้ไข้ บำรุงตับและปอด ลูกจันทน์(เมล็ด) บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ขับลม แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง แก้ร้อนใน กระหายน้ำ บำรุงโลหิต ดอกจันทน์(รกหุ้มเมล็ด) บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ ขับลม และใช้เป็นเครื่องเทศ
กานพลู
- เปลือกต้น – แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
- ใบ – แก้ปวดมวน
- ดอกตูม – รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น
ดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน - ผล – ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
- น้ำมันหอมระเหยกานพลู – ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา