สมุนไพรฤทธ์เย็น

  • กลุ่มผักที่มีฤทธิ์เย็น ได้แก่ ฟักเขียว บวบ ตำลึง ใบเตย รางจืด แตงกวา มะรุม และกระเจี๊ยบเขียว
  • กลุ่มผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น ได้แก่ แตงโม แคนตาลูป เมล่อน แตงไทย ชมพู่ แก้วมังกร และมังคุด
  • น้ำสมุนไพร ได้แก่ น้ำใบเตยหอม น้ำเก็กฮวย น้ำใบบัวบก น้ำว่านหางจระเข้ และน้ำรากบัว

-ใบ นำมาใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เพราะใบเตยมีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจ จึงช่วยบำรุงหัวใจได้อย่างดี วิธีรับประทานคือ ใช้ใบสดผสมในอาหาร แล้วรับประทานหรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง ช่วยดับกระหาย เนื่องจากใบเตยมีกลิ่นหอมเย็น หากนำมาผสมน้ำรับประทาน จะช่วยดับกระหาย คลายร้อน ดื่มแล้วรู้สึกชื่นใจ และชุ่มคอได้เป็นอย่างดี วิธีรับประทานคือ นำใบเตยสดมาล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่ม รักษาโรคหัด หรือ โรคผิวหนัง โดยนำใบเตยมาตำแล้วมาพอกบนผิว

รากและลำต้น ส่วนรากและลำต้นนั้น ก็นำใช้รักษาโรคเบาหวาน เพราะรากและลำต้นของเตยหอมนั้น มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด วิธีรับประทานก็คือ ใช้ราก 1 กำมือนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม ทุกเช้า-เย็น ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยการนำต้นเตยหอม 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ไปต้มกับน้ำดื่ม

สรรพคุณของวุ้นว่านหางจระเข้ เป็นยาฆ่าเชื้อ ฝาดสมานแผล ห้ามเลือด ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อให้เจริญเติบโต ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ประเทศสหรัฐอเมริกา รัสเซีย ญี่ปุ่น ออสเตรีย ได้ทดลองพบว่า ว่านหางจระเข้สามารถนำมาใช้รักษาแผลธรรมดา แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลที่เกิดจากการฉายรังสี ลดอาการอักเสบ ฆ่าเชื้อโรค ป้องกันผิวไหม้เพราะแดด บำรุงผิวหน้า กำจัดฝ้า ยาระบาย แก้ไอ เจ็บคอ รักษามะเร็ง แก้พิษแมงกะพรุน ช่วยประสานกระดูก รักษาโรคตับและรักษาสมองผิดปกติ

บรรเทาอาการฟกช้ำ ห้อเลือด ช่วยลดการอักเสบ ลดอาการปวดแสบ ปวดร้อน จากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบและกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ในกระเพาะอาหาร ที่จะช่วยทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย และดับกระหาย

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *