ต้นหนาดคำ จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 75-150 เซนติเมตร ส่วนโคนเนื้อค่อนข้างแข็ง ส่วนที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนสีเทาแกมเหลืองปกคลุมหนาแน่น[1] ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบได้ตามที่เปิด ทุ่งหญ้า และตามป่าโปร่ง ที่ระดับความสูง 800-1,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล
สรรพคุณของหนาดคำ
ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้รากหนาดคำนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย (ราก) ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากหนาดคำ ฝนกับน้ำกินอย่างน้อยครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ เป็นยาแก้แพ้อาหาร (ราก) ตำรายาพื้นบ้านจะใช้ใบหนาดคำ นำมาต้มกับน้ำกินช่วยย่อยอาหาร (ใบ) รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ท้องร่วง (ราก) ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้นิ่ว ขับปัสสาวะ (ราก) รากหนาดคำใช้ผสมกับรากกระดูกไก่ และรากหนาด (Inula polygonata DC.) ฝนกับน้ำกินเป็นยารักษาอาการประจำเดือนไม่ปกติ แก้ผิดเดือน ผิดสาบ (ราก) ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ต้นนำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการลมผิดเดือน (ต้น) รากใช้ต้มกับน้ำกินจะช่วยให้คลอดบุตรง่ายขึ้น (ราก) รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไตพิการ (ราก) รากใช้ฝนกับน้ำกินอย่างน้อยครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ เป็นยาแก้ผื่นคัน (ราก)
ลักษณะของหนาดคำ
ต้นหนาดคำ จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 75-150 เซนติเมตร ส่วนโคนเนื้อค่อนข้างแข็ง ส่วนที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนสีเทาแกมเหลืองปกคลุมหนาแน่น[1] ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบได้ตามที่เปิด ทุ่งหญ้า และตามป่าโปร่ง ที่ระดับความสูง 800-1,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ใบของหนาดคำ
ใบหนาดคำ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-20 เซนติเมตร มีขนเหนียวติดมือที่ผิวด้านหลังใบ ส่วนท้องใบมีขนละเอียดยาวเป็นมันสีเงินแกมเทา