กำยาน

สมุนไพรกำยาน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เกลือตานตุ่น (ศรีสะเกษ), ชาติสมิง ซาดสมิง (นครพนม), กำหยาน (ภาคเหนือ), กำยานไทย กำยานต้น (ภาคกลาง), กำมะแย กำยานสุมาตรา (นราธิวาส, มาเลเซีย), สะดาน (เขมร-สุรินทร์), เบนซอย (นอกประเทศ), เซ่พอบอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), เข้ว (ละว้า-เชียงใหม่), อานซีเซียง (จีนกลาง) เป็นต้น

ยางใช้เผาเอาควันอบห้อง จะช่วยฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เป็นยาไล่ยุง ไล่ริ้นไร มดและแมลงได้ กำยานมีประสิทธิภาพเป็นยากันบูดได้ จึงมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณเพื่อวัตถุประสงค์ในการแต่งกลิ่นและกันบูด[1],[3] ใช้ปรุงน้ำอบไทย โดยการเผากำยานบนก้อนถ่านที่ไฟลุกแดง แล้วใช้อบ เช่น อบน้ำดอกไม้ น้ำที่อบกำยานแล้วโบราณจะนำมาปรุงกับเครื่องหอมอื่น ๆ ทำเป็นน้ำอบไทย นอกจากนี้ยังใช้กำยานเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทียนอบ ธูปหอม กระแจะ เครื่องหอมอื่น ๆ และยังใช้ทำเครื่องสำอางได้อีกด้วย เนื่องจากกำยานสามารถต้านการสลายตัวของไขมันต่าง ๆ ได้ดี มันจึงถูกนำมาใช้ผสมกับไขมันที่ใช้เป็นยาพื้นสำหรับเตรียมยาขี้ผึ้งต่าง ๆ ในปัจจุบัน การบำบัดรักษาสุขภาพด้วยกลิ่นหอมหรืออโรมาเธอราพี (Aromatherapy) กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และหนึ่งในกลิ่นหอมที่ถูกนำมาใช้กันมากก็คือ ‘กำยาน’ นั่นเอง ซึ่งสามารถช่วยลดความเครียด ผ่อนคลายความวิตกกังวล และทำให้รู้สึกสบายใจขึ้นเนื้อไม้ใช้ในการสร้างบ้านหรือที่พักชั่วคราว และใช้ทำฟืน

ต้นกำยาน จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวเทาหรือสีหม่น ตามกิ่งก้านมีขนสีเหลืองเล็กน้อย[1] มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบเขตร้อน เช่น แหลมมลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบอนิโอ และในประเทศไทย

กำยานญวน หรือ กำยานหลวงพระบาง (Siam Benzoin) เป็นกำยานที่ได้จากพืชชนิด Styrax tonkinensis Craib ex Hartwich ซึ่งคล้ายคลึงกับพืชชนิดทั้งสองชนิดแรก ลักษณะเป็นเม็ดกลมรีขนาดเล็ก ส่วนมากมีความยาวน้อยกว่า 2-3 เซนติเมตร ทึบแสง เปราะ ชั้นในมีสีน้ำนมขาวขนาดเล็ก แต่เมื่อเก็บไว้นาน ๆ จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงปนน้ำตาล ใส หรือทึบแสง กำยานชนิดนี้เป็นกำยานชนิดที่ดีที่สุด เพราะกำยานชนิดนี้ส่งออกขายจากเมืองของราชอาณาจักรสยาม ในทางการค้ากำยานชนิดนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดเป็นเม็ดกลมรี เม็ดไม่ติดกัน (Tear Siam Benzoin) และชนิดที่เป็นเม็ด ๆ ติดกันเป็นก้อน มีลักษณะเป็นก้อนเหลี่ยมตามลักษณะของหีบไม้ที่บรรจุ (Block Siam Benzoin) แต่ชนิดที่ดีที่สุดคือ ชนิดที่เป็นเม็ดกลมรี เกาะติดกันหลวม ๆ ไม่แน่น ถ้าเป็นชนิดธรรมดาจะเป็นเม็ดกลมรี ติดกันแน่น กำยานชนิดนี้นิยมใช้เป็นสารให้คงกลิ่น (fixative) ในน้ำหอม สบู่ ครีม สารซักฟอก เป็นต้น

กำยานสุมาตรา (Sumatra Benzoin) เป็นกำยานที่ได้จากพืช 2 ชนิด คือ Styrax benzoin Dryand. และ Styrax paralleloneurus Perkins กำยานชนิดนี้จะมีลักษณะแตกต่างจากกำยานญวนตรงที่มีสีเทามากกว่า ไม่ค่อยมีส่วนที่เป็นก้อนกลม ๆ รี ๆ มักมีเศษไม้และของอื่น ๆ ปนอยู่ และมีความหอมน้อยกว่ากำยานญวน แต่จะนิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางยามากกว่า โดยใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ และเป็นยาฝาดสมาน

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *