การจำแนกสมุนไพร 10 รสชาติ

รส ใช้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงสารประกอบสำคัญและสรรพคุณของสมุนไพรได้ แพทย์แผนโบราณแบ่งรสยาเป็น 3 รสกว้างๆ คือ รสเย็น รสร้อน รสสุขุม ซึ่งเรียกว่า ยารสประธาน

  •             ยารสร้อน ใช้เป็นยาประเภทขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง เช่น ขิง ข่า พริกไทย ดีปลี เบญจกูล คนทีสอทะเล กระเพราแดง กระวาน เป็นต้น
  •             ยารสเย็น ใช้เป็นยาประเภทลดไข้ เช่น เกสรดอกไม้ต่างๆ รากมะเฟือง ตำลึง สารภี เถารางจืด ใบพิมเสน รากลำเจียก เมล็ดฝักข้าว เป็นต้น
  •             ยารสสุขุม ใช้เป็นยาแก้ลมหน้ามืด ใจสั่น เช่น โกฐต่างๆ เทียน กฤษณา อบเชย จันทร์เทศชะลูด   เป็นต้น

            นอกจากยารสประธานแล้วยังแบ่งเป็นรสย่อยๆได้ออกเป็น 10 รส คือ

1. ยารสฝาด มีสรรพคุณในทางสมานแผล แก้ท้องร่วง แก้บิด บำรุงธาตุ

2. ยารสหวาน มีสรรพคุณทำให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย

3. ยารสเมาเบื่อ มีสรรพคุณแก้ไข้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย สมุนไพรพวกนี้จะมีสารพวก ไกล

โคไซด์ และอัลคาลอยด์ ถ้ารับประทานมากจะเกิดอาการมึนงง กดประสาท

4. ยารสขม สรรพคุณสำหรับบำรุงโลหิตและดี กระตุ้นให้เจริญอาหาร

5. ยารสเผ็ดร้อน สรรพคุณแก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ บำรุงธาตุ บรรเทาอาการช้ำบวม เคล็ด

ขัดยอก แสลงกับโรคไข้พิษร้อน

6. ยารสมัน สรรพคุณแก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น เพิ่มพลังงานให้ร่างกาย

แสลงกับโรคบิด ดีซ่าน ไอเสมหะ

7. ยารสหอมเย็น สรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ อ่อนเพลีย บำรุงครรภ์ แสลง

กับโรคในลำไส้

8. ยารสเค็ม สรรพคุณรักษาโรคผิวหนังเน่าเปื่อย น้ำเหลืองเสีย บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร

แก้เถาดานในท้อง แสลงกับโรคกระเพาะอาหารพิการ

9. ยารสเปี้ยว สรรพคุณแก้เสมหะ ฟอกโลหิต แก้ไอ แก้กระหายน้ำ บำรุงผิว แสลงกับโรค

ท้องร่วง

10. ยารสจืด สรรพคุณขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ถอนพิษปวดแสบปวด

ร้อน แสลงกับโรคหน้ามืด

วิธีการเก็บเกี่ยวสมุนไพรเพื่อนำไปใช้ทำยาจะมีผลโดยตรงต่อคุณสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ทางยาสมุนไพรควรเก็บสมุนไพรในวันที่อากาศแห้ง ในระยะที่พืชโตเต็มที่ หรือในช่วงที่พืชสะสมปริมาณของตัวยาไว้ค่อนข้างสูง หลังการเก็บสมุนไพรแล้วควรทำให้แห้งเร็วที่สุดด้วยการตากหรือการอบ เมื่อสมุนไพรแห้งดีแล้ว ควรจัดเก็บให้ดีเพื่อรักษาคุณภาพและฤทธิ์ทางยาไว้

1.การเก็บดอกควรเก็บในตอนเช้าหลังหมดน้ำค้าง โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน หรือบานเต็มที่แล้ว แต่บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม เช่น ดอกกานพลู การเก็บดอกควรเก็บด้วยความ ทะนุถนอม เพราะส่วนดอกมักเสียหายได้ง่าย

2. การเก็บใบ โดยทั่วไปควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด ช่วงที่ใบมีสีเขียวสด ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป ถ้าเป็นใบ ใหญ่ก็เด็ดเป็นใบๆ ล้างให้สะอาดแล้วตากแห้ง ถ้าเป็นใบเล็กให้ตัดมาทั้งกิ่งมัดเป็นกำ แล้วแขวนตากไว้ทั้งกำแห้งดีแล้วรุดออกจากกิ่ง เก็บในภาชนะที่ทึบปิดฝาให้สนิท ถ้าเป็นพืชที่มีน้ำมันไม่ควรตากแดดควรผึ่งลมไว้ในที่ร่ม เช่น กะเพรา สะระแหน่

3. ในกรณีที่เป็นเมล็ดขนาดเล็ก เก็บเมื่อเมล็ดเกือบจะสุก แก่เต็มที่ เพื่อป้องกันการถูกลมพัดให้กระจัดกระจายไปโดยเก็บมาทั้งกิ่ง แล้วมัดรวมเป็นกำแขวนไว้ให้หัวทิ่มลงเหนือถาดที่รองไว้ในกรณีที่เก็บเมล็ดจากผลให้เก็บผลที่สุกแก่เต็มที่นำมาตากให้แห้ง แล้วจึงเอาเปลือกออก เอาเมล็ดออกมาตากให้แห้งอีกครั้ง พืชสมุนไพรบางชนิดเก็บผลในช่วงที่ยังไม่สุก เช่น ฝรั่งเก็บผลอ่อน ใช้แก้ท้องร่วง แต่โดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่หรือสุกใหม่ๆ แต่อย่าให้สุกจนเละ จะทำให้แห้งยากเมื่อนำไปตากแดด หรืออบ

4. การเก็บรากและหัว ควรเก็บในช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบ ดอก ร่วงหมด หรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน ช่วงนี้หัวและรากจะมีการสะสมปริมาณของตัวยาไว้ค่อนข้างสูง

5. การเก็บเมือกหรือยางจากต้นไม้ ให้กรีดรอยลึกๆ ลงบนเปลือกไม้ หรือด้วยการเจาะรูแล้วใช้ถ้วยรอง เมือกหรือยางของต้นไม้บางชนิดอาจเป็นพิษระคายเคืองควรสวมถุงมือ ขณะกรีดยาง สำหรับว่านหางจระเข้ เลือกใบที่อวบแล้วใช้มีดผ่าเปลือกนอกตรงกลางตามแนวยาวของใบ แล้วแหวกเปลือกออก จากนั้นใช้ด้านทื่อของมีดขูดเมือกของว่านหางจระเข้ออก

6. การเก็บเปลือกโดยมากเก็บระหว่างฤดูร้อนต่อกับฤดูฝน จะมีปริมาณยาค่อนข้างสูง และลอกเปลือกได้โดยง่าย

เภสัชวัตถุประเภทพืช  (พืชวัตถุ)

เภสัชวัตถุประเภทพืช  (พืชวัตถุ)  ได้จาก ต้น แก่น ใบ หัว เหง้า ราก  กระพี้ เนื้อไม้ ยางไม้ เปลือกต้น เปลือกลูก เปลือกเมล็ด ดอกเกสร กิ่ง ก้าน ฯลฯ พืชวัตถุแบ่งเป็น
          จำพวกต้น  เช่น  กระเจี๊ยบ  กระถินไทย  กระดังงาไทย กระท่อม กานพลู  ฯลฯ
          จำพวกเถา-เครือ  เช่น  กระทกรก หนอนตายหยาก ชะเอมไทย ตำลึง ฯลฯ
          จำพวกหัว-เหง้า เช่น กระชาย กระเทียม กระวาน กลอย ขิงบ้าน ฯลฯ
          จำพวกผัก เช่น ผักกะเฉด ผักบุ้งจีน ผักหวานบ้าน ผักกาด ผักเบี้ย ฯลฯ
          จำพวกหญ้า เช่น หญ้ากระต่ายจาม หญ้าคา หญ้างวงช้าง หญ้าแห้วหมู ฯลฯ
          จำพวกเห็ด แบ่งเป็น  เห็ดที่เป็นอาหารและประกอบเป็นยาได้ และเห็ดเบื่อเมา
          เห็ดที่เป็นอาหารและเป็นยา เช่น เห็ดหูหนู เห็ดฟาง เห็ดโคน ฯลฯ
          เห็ดที่เบื่อเมา เช่น เห็ดงูเห่า เห็ดตาล เห็ดมะขาม ฯลฯ
          ยาที่ได้จากสัตว์  อาจใช้สัตว์ทั้งตัว  ส่วนหรืออวัยวะของร่างกายสัตว์ รวมทั้งมูล เลือด น้ำดีของสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์พวกนก เช่น ตับ ดี เลือด  เขา นอ กระดูก ฯลฯ

เภสัชวัตถุประเภทธาตุ  (ธาตุวัตถุ)

เภสัชวัตถุประเภทธาตุ  (ธาตุวัตถุ) ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่-ธาตุ ธาตุวัตถุแบ่งได้เป็น
          จำพวกสลายตัวง่าย  (หรือสลายตัวอยู่แล้ว)  เช่น กำมะถันเหลือง สารส้ม กำมะถันแดง ดีเกลือ จุนสี พิมเสน ฝรั่ง น้ำซาวข้าว ปรอท การบูร ฯลฯ
          จำพวกสลายตัวยาก เช่น เหล็ก (สนิม) ทองแดง ทองเหลือง ทองคำ เงิน ฯลฯ
          จำพวกที่แตกตัว  เช่น ดินสอพอง น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลกรวด ดินเหนียว ฯลฯ

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *